วัดพระนั่งดิน เชียงคำ

วัดพระเจ้านั่งดิน เป็นวัดที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่ในเมืองเชียงคำ จังหวัดพะเยา ชื่อของวัดมาจาก องค์พระประธานของวัดไม่มีฐานชุกชีรองรับเหมือนพระประธานในวัดอื่นๆ เคยมีราษฎร์สร้างฐานชุกชี และ อัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่าพยายามอย่างไรก็ยกไม่ขึ้นจึงเรียกสืบต่อกันว่า “พระเจ้านั่งดิน” ปัจจุบันพระเจ้านั่งดิน ยังคงประดิษฐานในวิหารวัดที่พื้นวิหาร โดยกั้นเป็นห้องกระจก

ประวัติวัดพระนั่งดิน

ตามตำนานกล่าวว่า พระยาผู้ครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติ(ตำนาน) เมื่อนมจตุ จุลศักราช 1,213 ปีระกา เดือน 6 แรม 3 ค่ำ วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกโปรดเมตตาสรรพสัตว์รอบโลกโดยทั่วทางอภินิหาร เมื่อพระองค์ได้เสด็จมาถึงเขตเวียงพุทธรสะ (อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระองค์ได้ประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ พระธาตุดอยคำปัจจุบัน ทรงแผ่เมตตาและประสาทพรตรัส สั่งพระยาคำแดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น สร้างรูปเหมือนพระองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะแห่งนี้ เมื่อสัพพัญญูเจ้าตรัสจบ ก็ปรากฏว่าได้มีพระอินทร์องค์หนึ่ง พระยานาคตนหนึ่ง ฤาษีสององค์ และพระอรหันต์สี่รูป ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีป (ประเทศศรีลังกา) มาสร้างพระพุทธรูปเหมือนของพระพุทธองค์

ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้โปรดสัตว์ทั่วถึงแล้วจึงเสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะ อีกครั้ง ทรงเห็นรูปเหมือนที่โปรดให้สร้างขึ้นนั้นเล็กกว่าองค์ตถาคต พระพุทธองค์จึงตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระพุทธองค์ จึงได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาลรูปปั้นจำลองได้เลื่อนลงจากฐานชุกชี(แท่น) มากราบไหว้พระพุทธองค์ตรัสกับรูปเหมือน พระพุทธองค์ที่ได้สร้างขึ้นนั้นว่า “ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ 5,000 พระพรรษา” พระรูปเหมือนจึงได้น้อม รับเอาแล้วประดิษฐานอยู่ ณ พื้นดินที่นั้นสืบมา ด้วยเหตุนี้พุทธบริษัทจึงหมายเหตุเอาพระรูปเหมือนของพระพุทธองค์ว่า พระเจ้านั่งดิน

ต้นก้ามปูขนาดใหญ่ในวัด

ด้านในวิหาร

พระเจ้านั่งดิน ประดิษฐานในวิหาร โดยกั้นเป็นห้องกระจก

พระพุทธรูปจำนวนมากในวิหาร

พระเจ้านั่งดิน องค์จริง

พระเจ้านั่งดิน องค์จำลอง

การเข้าชม
เวลาทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00-16.30 น.
ช่วงเวลาเที่ยว : ตลอดทั้งปี
การเดินทาง
รถยนต์ : จากตัวเมืองเชียงคำ หรือ วัดนันตาราม ใช้ถนน 1148 มาทางทิศใต้ ประมาณ 4.4 กิโลเมตร วัดพระนั่งดินอยู่ทางขวามือ มีที่จอดรถสะดวก
รถโดยสาร :

Post Views 5232

admin

นักเขียนประจำ emagtravel.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *